รางจืดรักษาโรคความดันโลหิตสูง



รางจืด เป็นพืชสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆ เป็นไม้เลื้อย หรือเป็นไม้เถา มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Laurel Clockvine, Blue Trumphet Vine มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl. อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE รางจืดมีลักษณะเป็นเถา เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีเขียว ชอบพันรัดต้นไม้อื่น รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ทำให้สามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เป็นพืชที่มีความ เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ แต่ตามปกติแล้วจะขึ้นเองตามธรรมชาติ ชอบเกาะ ขึ้นตามสายรั้ว ใบสีเขียวสด มีลักษณะ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ รางจืด มีดอกสีม่วง โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด

สรรพคุณของรางจืด รักษาโรคความดันโลหิตสูง

มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลายคนได้รับการแนะนำให้รักษาโรคโดยการ ใช้รางจืด วิธีการ
1.นำใบสด ประมาณ 5 ใบ มาคั้น ปั่น หรือตำ ผสมกับน้ำ 1 ลิตร รับประทานให้หมดภายใน 1 วัน
2.นำใบสดรางจืด ไปตากแห้ง นำมาหั้น ฉีก เป็นชา รับประทาน วันละ 1 – 2 แก้ว



จากการที่มีหมอพื้นบ้าน ใช้รางจืดในการคุมโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีการทดลองที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวคือ มีการทดลองพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ ในเรื่องของฤทธิ์ลดความดันนั้นพบว่าสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดแห้งมีผลทำให้ ความดันโลหิตของหนูแรตลดลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจผ่าน Cholinergic receptor และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว

ข้อเสนอแนะ : การใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนี้ นี้ พึงระลึกว่าต้องมีการรักษา ร่วมไปกับแผนแพทย์แผนปัจจุบัน ผู้ป่วยควรวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ และควรรับประทานรางจืดอย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่องจึงจะได้ผล